5 ข้อสังเกตงานวิจัยแต่ละแบบ ที่มืออาชีพเท่านั้นที่รู้ !

บทความนี้ขอย่อยปัญหาหลักในการทำงานวิจัยไทย 5 ข้อสังเกตงานวิจัยแต่ละแบบ ที่มืออาชีพเท่านั้นที่รู้ ! คือ

1. การทำวิจัยปริญญาโทและปริญญาเอกนั้น ต่างกันอย่างไร

ในข้อสังเกตวิจัยแรกนี้ส่วนใหญ่ผู้วิจัยหลายๆ ท่านจะแยกไม่ค่อยได้ว่า การทำงานวิจัยปริญญาโทและปริญญาเอกนั้น ต่างกันอย่างไร เราจะขออธิบายสั้นๆ ง่ายๆ ว่า

– ปริญญาเอกจะเน้นการทำวิจัย (Research) ในระดับที่ก้าวหน้าและสูงขึ้น โดยอาจจะมีหรือไม่มีการเรียนการสอนรายวิชาก็ได้

ฉะนั้นในการเรียนในระดับปริญญาเอก การฝึกฝนทักษะการทำวิจัยเป็นสำคัญ เพราะผู้เรียนจำเป็นต้องค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง

โดยศึกษาค้นคว้าวิจัยในหัวข้อนั้นๆ ลงไปให้ลึกถึงแก่นของความรู้ และในที่สุดสามารถสร้างองค์ความรู้ในแบบฉบับของตัวเองและขยายองค์ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์ในวงกว้างได้

– ปริญญาโทจะเน้นการเรียนการสอนรายวิชา (Course work) ในระดับที่ก้าวหน้าและสูงขึ้น โดยอาจจะมีหรือไม่มีการทำวิจัยก็ได้

ซึ่งการเรียนในระดับปริญญาโท จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนศึกษาความรู้ที่เฉพาะเจาะจงและลึกซึ้งกว่าระดับอื่นๆ อีกทั้งจะต้องสามารถประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ในบริบทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม แต่ไม่ถึงกับต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่ ลึกซึ้งถึงแก่นเท่ากับปริญญาเอก

หากเชิงเปรียบเทียบในแง่ขององค์ความรู้มากกว่าการเรียนในระดับปริญญาเอกที่ใช้เวลาโดยส่วนใหญ่มุ่งศึกษาหัวข้อวิจัยเพียงเรื่องเดียวอย่างลึกซึ้ง

เพราะการทำงานวิจัยในระดับปริญญาโทจะตอบโจทย์กับงานที่ต้องศึกษาความรู้แบบกว้างๆ และหลากหลาย และก็เพียงพอในการนำไปปรับใช้กับชีวิตและงานต่างๆ ได้ ซึ่งจำเป็นต้องไปสั่งสมประสบการณ์และความชำนาญต่างๆ ในสายอาชีพนั้นๆ เพิ่มเติมอยู่ดี

2. การทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ระดับปริญญาโท แบบ ก1 และ แบบ ก2 ต่างกันอย่างไร

ในการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 แผน ซึ่งในข้อสังเกตวิจัยนี้ ทางเราจะอธิบายความต่างของ แผน ก ซึ่งจะเน้นการทําวิจัยโดยให้มีการทําวิทยานิพนธ์ และแยกย่อยออกเป็น แบบ ก1 และ แบบ ก2 คือ

– แบบ ก1 จะเป็นการทําวิทยานิพนธ์อย่างเดียว โดยจะต้องมีหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต หรืออาจมีการเรียนรายวิชาก็ได้แต่ไม่นับหน่วยกิต และอาจจะไม่ต้องเรียนรายวิชาบรรยาย หรือเรียนแค่บางวิชาแบบไม่คิดหน่วยกิตไม่มีเกรด ซึ่งเหมาะกับผู้เรียนที่มีประสบการณ์วิจัยหรือมีความรู้ในสาขาวิชาด้านนั้นอย่างชัดแล้ว

แต่กลับมีข้อเสียตรงที่ไม่มีเกรดรองรับ อาจจะทำให้ยุ่งยากนิดๆ เมื่อนำไปสมัครในตำแหน่งงานที่กำหนดเกรด

– แบบ ก2 ในแผนการเรียนจะประกอบด้วยรายวิชาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และในการทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยการทำวิทยานิพนธ์จะเริ่มทำหลังจากเรียนรายวิชาไปแล้วประมาณ 2 เทอม

3. งานดุษฎีนิพนธ์ แบบ 1 แบบ 2 ต่างกันอย่างไร

ในข้อสังเกตวิจัยข้อที่ 3 นี้ ก็จะคล้ายๆ กับ ข้อที่ 2 แต่จะเป็นในระดับปริญญาเอก

– แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ อาจจะกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมหรือ ทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยไม่นับหน่วยกิต ซึ่งจะแยกย่อยเป็น 2 ส่วน คือ

แบบ 1.1 ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาโท จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

แบบ 1.2 ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาตรี จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

– แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย และศึกษารายวิชาเพิ่มเติม แยกย่อยเป็น 2 ส่วน คือ

แบบ 2.1ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาโทจะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

แบบ 2.2 ผู้ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาตรีจะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

4. บทความวิชาการ และ บทความวิจัย ต่างกันอย่างไร

ในความต่างของบทความวิชาการ และ บทความวิจัย มีลักษณะความต่างดังนี้

– บทความวิชาการ

จะนำเสนอความรู้พื้นฐานทางวิชาการของสาขานั้นๆ ที่เชื่อถือได้ และมีหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการที่ใช้ประกอบการเขียนอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยเขียนในลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์ ให้ผู้อ่านเห็นถึงประเด็นหรือสาระสำคัญที่ต้องการสื่อให้ผู้อ่านรับรู้

ซึ่งอาจจะเป็นการเขียนจากประสบการณ์ความเชี่ยวชาญส่วนตัวของผู้เขียน หรือนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ วิจารณ์ เรียบเรียงจัดลำดับการนำเสนอเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสมชัดเจน

และสรุปอภิปรายชี้แนะ เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์ หรือเหาความรู้ในประเด็นนั้นๆ เพิ่มเติมต่อไป 

– บทความวิจัย

บทความวิจัยคล้ายจะมีลักษณะคล้ายกับงานวิจัย หรืองานวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา แต่มีความต่างกันในรายละเอียดของความยาว ส่วนขยาย และส่วนประกอบบางส่วนที่ไม่จำเป็นต้องเขียนลงในบทความวิจัย

เช่น กรอบความคิดเชิงทฤษฎี ตัวแปรต่างๆ ขอบเขต และข้อจำกัดของการวิจัย รวมทั้งตารางการวิเคราะห์ข้อมูล

โดยการเขียนบทความวิจัยจะมีลักษณะกระชับตรงประเด็น ครอบคลุมส่วนที่เป็นปัญหา วิธีการดำเนินงาน ผลการวิจัย การอภิปรายและข้อเสนอแนะเป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปบทความวิจัยจะมีความยาวประมาณ 10-15 หน้ากระดาษ A4

5. จริงๆ รายงานวิจัยนั้นมี 6 บทขึ้นไป

ในการทำงานวิจัยส่วนใหญ่จะทำรายงานการวิจัยที่พูดจนติดปากว่า “การทำวิจัย 5 บท” หรือ “สอบ 5 บท” ซึ่งหากสังเกตให้ดีในการทำงานวิจัยนั้นไม่มีข้อจำกัดที่ตายตัว สามารถพลิกแพลงไปตามกระบวนการวิจัย ที่จะต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 6 ส่วน คือ

1. บทนำ

2. ทบทวนวรรณกรรม

3. วิธีดำเนินการวิจัย

4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

5. ผลการวิจัย

6. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

ดังนั้นรายงานการวิจัยจะมีกี่บทก็ได้แต่ไม่ควรต่ำกว่า 6 บท และไม่ควรคิดว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ผลการวิจัย ที่จะต้องรวมบทที่ 4 และ 5 เข้าด้วยกัน

นี่เป็นข้อสังเกต 5 ข้อ ที่หลายๆ คนมองข้าม และในบางครั้งยังไม่สามารถแยกแยะออก จนกว่าจะเกิดปัญหากับตัวเองถึงจะตระหนักรู้ในข้อสังเกตนี้

หากท่านมีข้อสงสัย หรือกำลังมองหาที่ปรึกษาในการทำงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ หรืองานดุษฎีนิพนธ์สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

Credit: https://bit.ly/3G5khgt

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

จากการศึกษางานวิจัยเผยว่า คนที่ทำตัวแปลกๆหรือทำตัวประหลาดแตกต่างจากคนปกติ หรือคนที่มีคาแร็คเตอร์แปลกประหลาดแบบธรรมชาติของเขาเอง สามารถสร้างแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้าม และทำให้มีโอกาสหาแฟนหรือคนรู้ใจได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ใครที่โสดมานานแล้วอยากสละโสด คงจะได้ฤกษ์สละโสดเร็วๆนี้แล้ว . ซึ่งผลวิจัยดังกล่าวข้างต้น อ้างอิงจากวารสารว่าด้วยบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคม (Personality and Social Psychology Bulletin) ของสหรัฐอเมริกา เป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิง จากการเลือกเพศตรงข้ามที่สนใจผ่านเว็บไซต์หาคู่เดทออนไลน์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงต่างถูกใจในผู้ที่มีความแปลกกว่าคนทั่วไป ทั้งในเรื่องสไตล์เสื้อผ้า การแต่งตัว รสนิยม และทัศนคติ . บางท่านอาจสงสัยว่า

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

จากการศึกษาเรื่อง ทำไมฝนตกแล้วต้องเหงา หรือผลกระทบจากสภาพอากาศต่อสภาพจิตใจในเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยานั้นพบว่า ในช่วงที่ฝนตก สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลง และแสงสว่างที่ลดน้อยลง ซึ่งอธิบายให้เห็นภาพที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของแสงสว่างที่ลดน้อยลงในวันที่ฝนตก เพราะร่างกายของมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ที่คอยกำหนดการทำงานของสมองและร่างกายในแต่ละช่วงของวัน . ซึ่งแสงส่งผลได้อย่างชัดเจน สามารถนึกถึงอารมณ์เวลาที่ตื่นมาในวันที่มีแสงแดดแรง ท้องฟ้าสดใส และไม่ร้อนจนเกินไป กับวันที่ตื่นมาแล้วท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยเมฆครึ้ม อารมณ์ความรู้สึกในวันนั้นก็แตกต่างกันไม่น้อย ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล เพราะการได้รับแสงแดดที่ไม่เพียงพอหรือน้อยลงในตอนเช้าส่งผลต่อการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ ต่อเนื่องไปยังสมอง ทำให้สมองผลิตเซโรโทนิน

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

วัยรุ่นวัยใสที่ยังไม่มีแฟนหรือแทบจะไม่ได้ไปออกเดทกับใครเขา มักถูกมองว่าขาดเสน่ห์หรือเข้าสังคมได้ไม่ดีนัก แต่ในขณะที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมวัยรุ่นในสหรัฐฯ เชื่อกันมานานว่า วัยรุ่นที่มีคู่คบหาดูใจจะมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสังคมและวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้ดีกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน แต่แล้วความเชื่อนี้กำลังจะเปลี่ยนไป . เนื่องจากทีมนักวิจัยด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียของสหรัฐฯ ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร “สุขภาพในโรงเรียน” (Journal of School Health) โดยระบุว่า ผลการติดตามเก็บข้อมูลระยะยาวเป็นเวลา 7 ปีกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชี้ว่าวัยรุ่นที่ไม่ได้คบหาเป็นแฟนกับใครและไม่ค่อยได้ออกเดทนั้น ไม่ได้มีพัฒนาการทางจิตวิทยาตามวัยด้อยไปกว่าเพื่อนที่มีแฟน หนำซ้ำยังมีทักษะทางสังคมที่ดีกว่า และมีภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าด้วย

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง