วิทยานิพนธ์

วิทยานิพนธ์, ปริญญานิพนธ์ หรือ ดุษฎีนิพนธ์เป็นเอกสารที่เขียนโดยนักวิจัย นักศึกษา หรือนักวิชาการ พรรณนาขั้นตอน วิธีการ และผลการศึกษาวิจัยที่ค้นคว้าวิจัยมาได้ โดยเขียนอย่างเป็นระบบ มีแบบแผน สำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา วิทยานิพนธ์เป็นเอกสารบังคับในการจบการศึกษา สำหรับนักวิจัยหรือนักวิชาการจะใช้เป็นเอกสารในการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์มีส่วนประกอบใหญ่ๆ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อความ และส่วนเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมส่วนนำ (Preliminaries) มักประกอบด้วย ปกวิทยานิพนธ์ ใบรองปก และหน้าปกใน ซึ่งจะบอกเกี่ยวกับ ชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ ผู้แต่ง อาจารย์ที่ปรึกษา และสถาบันที่เป็นเจ้าของวิทยานิพนธ์นั้น ต่อด้วยหน้าอนุมัติ ซึ่งเป็นหน้าสำหรับกรรมการตรวจและสอบวิทยานิพนธ์ลงนามเพื่ออนุมัติรับรองวิทยานิพนธ์ และตามด้วยส่วนสำคัญของส่วนนำ คือ บทคัดย่อ ซึ่งเป็นการสรุปสาระสำคัญของวิทยานิพนธ์ทั้งเล่มแบบสั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านทราบถึงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ในส่วนนำจะมีสารบัญต่างๆ ปิดท้าย อาทิ สารบัญเนื้อหา สารบัญตาราง สารบัญภาพวิทยานิพนธ์บางเล่มจะมีกิตติกรรมประกาศ ในส่วนนำด้วย มักจะอยู่ก่อนหน้าบทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศเป็นส่วนที่ผู้เขียนวิทยานิพนธ์บรรยายแสดงความขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการศึกษาค้นคว้าและจัดทำวิทยานิพนธ์ อาทิเช่น ขอบคุณผู้มีพระคุณ บิดามารดา และอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น ส่วนเนื้อความจะอธิบายต่อคราวต่อไปนะคะ

ส่วนเนื้อความ

ส่วนเนื้อความส่วนเนื้อความ (Text) คือส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์ เป็นการพรรณนาขั้นตอน วิธีการ และผลการศึกษาวิจัย โดยส่วนเนื้อความมักประกอบด้วยเนื้อหาหลักๆ 3 ส่วน คือ บทนำ ตัวเรื่อง และ บทสรุปบทนำ (Introduction) เป็นส่วนที่ผู้เขียนใช้อธิบายถึง ที่มาและความสำคัญของปัญหาที่นำไปสู่การค้นคว้าวิจัย และสรุปสาระสำคัญของสิ่งที่จะทำการศึกษาวิจัยจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนที่ให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการค้นคว้าวิจัย จากนั้นเป็นการกล่าวถึง หลักการ ทฤษฎี ตัวแบบ แนวเหตุผล ที่จะใช้อ้างอิงหรือเป็นหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนผลการศึกษาวิจัยที่ค้นคว้าวิจัยมาได้ จากนั้นกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการศึกษาวิจัย และ นิยามศัพท์ เพื่ออธิบายคำศัพท์ที่ได้กำหนดขึ้นโดยมีความหมายเฉพาะตัวสำหรับการค้นคว้าวิจัยนั้นๆ เท่านั้น ในส่วนบทนำของบางเล่มจะมีสมมุติฐาน เพื่อเป็นการคาดคะเนถึงผลการค้นคว้าวิจัย ที่สอดคล้องวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นๆ ด้วยตัวเรื่อง (Body of the text) วิทยานิพนธ์แต่ละสาขาวิชา จะมีแบบฉบับในการเขียนเนื้อหาตัวเรื่องแตกต่างกันไป ส่วนประกอบหลักๆ ของตัวเรื่องมักประกอบด้วย การอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จากนั้นจึงกล่าวโดยละเอียดถึงผลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยด้วยวิธีการต่างๆ ตามวิธีดำเนินการวิจัย หลังจากกล่าวถึงผลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยแล้ว ก็จะเป็นส่วนสาระสำคัญของตัวเรื่อง คือการอภิปรายผลการวิจัย ซึ่งเป็นการวิจารณ์หรือการอภิปรายผลการวิจัยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัยการวิจารณ์หรือการอภิปรายผลการวิจัย มักเป็นการอธิบายให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามความสัมพันธ์ของ หลักการ ทฤษฎี ตัวแบบ […]

References or Bibliography

ส่วนเอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรมส่วนเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (References or Bibliography) จะแสดงรายชื่อหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ บุคคล และวัสดุต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และที่ได้อ้างถึงในส่วนนำและเนื้อความ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเหล่านั้นในเชิงลึกต่อไปวิทยานิพนธ์บางเล่มอาจมี ภาคผนวก (Appendix) เพื่อใช้นำเสนอข้อมูลต่างๆ หรือสิ่งที่จะช่วยให้เข้าใจสาระของวิทยานิพนธ์ดียิ่งขึ้น เนื้อหามักประกอบด้วยเอกสารข้อเท็จจริงต่างๆ ดังนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนเนื้อเรื่อง ข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้จากการปฏิบัติการ เช่น การทดลอง การศึกษาเฉพาะกรณี สำเนาเอกสารหายาก คำอธิบายระเบียบวิธี กระบวนการและวิธีการรวบรวมข้อมูล แบบฟอร์ม แบบสำรวจ แบบสอบถาม ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในวิทยานิพนธ์ คำอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอน หรือวิธีการ นามานุกรม (directory) ของบุคคลที่อ้างถึงในวิทยานิพนธ์หน้าสุดท้ายของวิทยานิพนธ์ มักมีประวัติผู้เขียน (Curriculum vitae หรือ Vita) ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการศึกษาและการทำงานของผู้เขียน ประวัติผู้เขียนโดยทั่วไป ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล พร้อมคำนำหน้า ได้แก่ นาย นางสาว นาง ยศ บรรดาศักดิ์ […]

เทคนิคในการหาหัวข้อวิจัยและการตั้งชื่อเรื่องวิจัย

และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหา รวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่ายไม่เขียนอย่างคลุมเครือ****ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสานหรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสานเป็นต้น3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่นการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่าการศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์การสังเคราะห์ การศึกษา การเปรียบเทียบ […]

ทำไมต้องทำงานวิจัย

ทำไมต้องทำงานวิจัยสาเหตุสำคัญของการกำหนดให้บุคลากรต้องมีการทำวิจัยนั้น เนื่องมาจากเห็นความสำคัญหรือประโยชน์ของการวิจัย นั่นเอง ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ของการทำวิจัยได้ ดังนี้ เกิดวิทยาการใหม่ ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและยุติธรรม ช่วยให้เข้าใจและทำนายปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ช่วยในด้านการกำหนดนโยบาย การวางแผนงาน และตัดสินปัญหา ตอบคำถามที่ยังคลุมเครือให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นความสนใจของนักวิชาการ ทำให้ทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งนำมาใช้เป็นประโยชน์เพื่อการปรับปรุงหรือพัฒนา ช่วยให้มีเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ช่วยกระตุ้นบุคคลให้มีเหตุผล รู้จักคิด และค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ ช่วยในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล หน่วยงานและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การปฏิบัติงานต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้องและมีเหตุผลดียิ่งขึ้นจะเห็นได้ว่าการทำวิจัยมีประโยชน์หลายประการ ทั้งนี้ ถ้าจะกล่าวถึงจุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัยอย่างกว้าง ๆ แล้วอาจกล่าวได้ว่า ในการทำการวิจัยใด ๆ ก็ตาม ผู้ทำการวิจัยจะมีจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 ประการนี้ คือ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็น อยากทราบเหตุผลและปรากฏการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงทำการวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบ สิ่งใดที่พอรู้อยู่บ้างก็ทำให้รู้และเข้าใจดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มพูนวิทยาการให้กว้างขวางลึกซึ้ง เพื่อนำผลไปประยุกต์หรือใช้ให้เป็นประโยชน์ จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้เกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาที่จะต้องค้นคว้าหาความจริงเพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยไปแก้ปัญหา หรือประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปจุดมุ่งหมายของการวิจัยทั้ง 2 ประการนี้ […]

5 เทคนิคการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

5 เทคนิคการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ในกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ หลังจากที่นิสิต นักศึกษาตกลงใจที่จะทำเรื่องใด อย่างแน่นอนแล้ว จะต้องจัดทำเค้าโครงวิทยานิพนธ์เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ และจทำเรื่องนั้นได้ก็ต่อเมื่อผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาเค้าโครง หรือคณะกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์แล้ว กิจกรรมที่ต้องปฏิบัติก่อนการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์ได้แก่ 1.การทำแผนปฏิบัติงานวิทยานิพนธ์ 2.การตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิง 3.การทำแผนผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งหมาย สมติฐานในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ และงานวิจัยที่ผ่านมาที่พบผลสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน 4.การจำลองลักษณะของการเสนอผลการวิจัย และ 5.การตรวจสอบความพร้อมในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ดังกล่าวในรายละเอียดไปตามลำดับ สมมติฐานทางวิจัย (Research Hypothesis) สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)สมมติฐานทางวิจัย (Research Hypothesis) เป็นข้อความที่ารเขียนแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัว ขึ้นไป ซึ่งผู้วิจัยสงสัยหรือคาดการณ์ว่าจะเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ซึ่งอาจจะตรงกับข้อค้นพบของการวิจัยอื่นหรือไม่ก็ได้ สมมติสมมติฐานนี้เขียนโดยอาศัยแนวความคิด ทฤษฎี หรือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัยที่นักวิจัยต้องการศึกษาสมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนโดยใช้สัญลักษณ์ทางสถิติแทนข้อความที่เขียนเต็มๆในสมมติฐานทางวิจัย สมมติฐานทางสถิติจะเป็นการคาดคะเนเกี่ยวกับประชากร เพราะฉะนั้นการเขียนสมมติฐาน จะต้อง ใช้ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) แทนค่าประชากร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำเอาสมมติฐานทางวิจัยมาดำเนินการทางปฏิบัติ ด้วยวิธีการทดสอบทางสถิติและเขียนสัญลักษณ์สั้นๆ ซึ่งสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจตรงกันในทางวิชาการทางสถิติและวิจัย

ความแตกต่างระหว่างสารนิพนธ์กับวิทยานิพนธ์

ความแตกต่างระหว่างสารนิพนธ์กับวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์กับวิทยานิพนธ์ต่างก้นที่ งานสารนิพนธ์ศึกษาแนวคิด (concept) หรือตัวแปร (variable) ตัวเดียว ใช้สถิติหรือการวิเคราะห์อย่างง่าย และจำกัดบริบทที่ศึกษา ส่วนวิทยานิพนธ์ศีกษาแนวคิดความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (causal relationship) การวิเคราะห์จึงต้องเพิ่มสถิติเชิงอ้างอิง (referential statistics) เช่น t-test independent และหรือ F-test ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพก็ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เช่นเดียวกับสารนิพนธ์ แต่อาจมีความเข้มข้นเรื่องคุณภาพของความถูกต้อง (validity) และความเชื่อมั่น (reliability มากกว่า) การตัดสินใจเลือกว่าจะทำสารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ระดับปริญาโทมีปัจจัยบุคคลอยู่สองกลุ่ม กลุ่มแรกคือนักศีกษา ส่วนใหญ่อยากจบง่ายก็จะเลือกสารนิพนธ์ ข้อดีคือน้กศึกษาไม่ยุ่งยาก หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนก็ไม่ยุ่งยาก แต่ข้อเสียคือนักศึกษาไม่มีประสบการณ์เต็มที่ในการเขียนงานวิจัย และอาจมีปัญหาไม่ได้รับการยอมรับถ้าต้องทำหน้าที่ทางวิชาการ เช่นเป็นอาจารย์หรือครู และหรือการไปสมัครเรียนต่อในหลักสูตรปริญญาเอกที่เคร่งครัด ส่วนการเลือกทำวิทยานิพนธ์มีข้อดีคือทำให้นักศึกษามีความรู้ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ และมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ตั้งมาตรฐานการสอบคัดเลือก3.การทำงานวิจัยนักศึกษาต้องตั้งโจทย์หรือคำถามการวิจัย (research question) ให้ถูกต้องเหมาะสม ควรเป็นคำถามที่เฉพาะเจาะจง เพราะการทำงานนิพนธ์ก็คือหาคำตอบคำถามการวิจัยให้ครบถ้วน ถ้าตั้งคำถามไม่ชัดเจนหรือมากเกินไป คำตอบก็ไม่ชัดเจนหรือไม่ถูกต้องเช่นกัน ส่วนเครื่องมือเก็บข้อมูลการวิจัย แบ่งง่ายๆ เป็นเครืองมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งก็คือมาตรประมาณค่า (rating scale) และเครื่องมือเก็บเครื่องมือเชิงคุณภาพ […]

ชื่อเรื่อง (the title)

ชื่อเรื่อง (the title)ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยายนอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ1.1 ความสนใจของผู้วิจัยควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป1.2 ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัยควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ1.3 เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่นด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการบริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย1.4 ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้วซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือระเบียบวิธีของการวิจัย

การวิจัยเชิงปริมาณ นิยมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

การวิจัยเชิงปริมาณ นิยมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การวิจัยเชิงทดลองและกึ่งทดลอง การวิจัยที่ไม่ทดลองการวิจัยเชิงทดลองการวิจัยแบบนี้เป็นการวิจัยที่จะหาความจริงใหม่เมื่อมีการควบคุมตัวแปรและเป็นความพยายามหาความสัมพันธ์ของเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดผลอีกอย่างหนึ่ง การวิจัยเชิงการทดลอง จึงเป็นการเปรียบเทียบผลของกลุ่มทดลองกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่มที่มีการปฏิบัติเงื่อนไขต่าง ๆ กับกลุ่มควบคุมกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่มว่ามีผลแตกต่างกันหรือไม่เพียงใดการวิจัยเชิงการทดลองมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ การควบคุม (control) การควบคุมในการทดลองนั้นมีจุดประสงค์ ดังนี้ เพื่อให้เกิดผลสูงสุด ซึ่งเนื่องจากตัวแปรที่ทดลอง เพื่อขจัดผลจากตัวแปรที่ไม่ต้องการจะทดลอง เพื่อขจัดความคลาดเคลื่อนของการทดลองประเภทต่าง ๆ การจัดกระทำตัวแปร คือ การจัดกระทำกับตัวแปรที่ต้องการทดลองและควบคุมตัวแปรที่ไม่ต้องการทดลอง แบบแผนการทดลองจะต้องมีความเที่ยงตรง ในการเลือกแบบแผนการทดลอง (experimentaldesign) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากมีความเที่ยงตรงผลการทดลองก็จะถูกต้อง ความเที่ยงตรงในการทดลองมีอยู่ 2 ชนิด คือ ความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงภายนอกก. ความเที่ยงตรงภายใน (internal validity) หมายถึง การที่จะลงสรุปตัวแปรอิสระว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรตาม จะต้องมั่นใจว่าไม่มีตัวแปรอื่น ๆ นอกจากตัวแปรอิสระที่ทำให้ตัวแปรตามเกิดการเปลี่ยนแปลงข. ความเที่ยงตรงภายนอก (external validity) หมายถึง ผลของการทดลองนั้นสามารถอธิบายทำนายและควบคุม ตามความหมายทางวิทยาศาสตร์ได้มากน้อยเพียงใด ผลการทดลองที่เป็นจริงและสามารถสืบอ้างไปสู่มวลประชากรได้ในการวิจัยเชิงการทดลองจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการข้างต้นนั้นได้ ผู้วิจัยต้องออกแบบแผนการทดลองการวิจัยที่ไม่ทดลองการวิจัยที่ไม่ทดลองที่นิยมกัน มีดังนี้ […]

การเขียนบทคัดย่อ

การเขียนบทคัดย่อบทคัดย่อ (Abstract) หมายถึง ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสาร หรือรายงานการวิจัย แบบย่อ โดยทั่วไปมักจะเขียนอยู่ต่อจากชื่อเรื่อง หรืองานวิจัยนั้น โดยเฉพาะสำหรับรายงานการวิจัย ต้องเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ Abstractลักษณะทั่วไปของบทคัดย่อ มีดังนี้1. บทคัดย่อมาก่อนคำนำ และแยกให้ออกระหว่างคำนำกับบทคัดย่อ2. ย่อทุก ๆ ส่วนของสัมมนา (คำนำย่อ เนื้อเรื่องย่อ สรุปย่อ) โดยเขียนสิ่งที่ผู้อ่านควรได้ทราบจากงานของเราโดยควรเรียงลำดับเช่นเดียวกับในเนื้อหาสัมมนา3. เมื่อผู้อ่าน ๆ บทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของสัมมนาออก ส่วนรายละเอียดนั้น ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในบทความสัมมนา4. บทคัดย่อไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะอาจทำให้เวลาในการอ่านส่วนอื่น ๆ ลดลง ในบทคัดย่อไม่มีตาราง รูปภาพ หรือการอ้างอิงใด ๆ5. ไม่มีส่วนของข้อมูลหรือแนวคิดอื่น ที่อยู่นอกเหนือจากในเนื้อหาบทความสัมมนาประเภทของบทคัดย่อ : บทคัดย่อมี 2 ประเภทคือ1. บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ (Informative Abstract) เขียนเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือบทสรุปที่ผู้ใช้ต้องการอย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการอ่านเอกสารต้นฉบับ2. บทคัดย่อประเภทพรรณนา (Indicative of Descriptive Abstract) เขียนเพื่อชี้แนะข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดในเอกสาร โดยปราศจากรายงานถึงผลการศึกษา […]