การเขียนบทคัดย่อ

ย่อหน้าที่ 1 ระบุถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)ย่อหน้าที่ 2 อธิบายถึงวิธีการวิจัย (Research Method) ซึ่งควรครอบคลุมแบบแผนการวิจัยย่อหน้าที่ 3 ระบุผล การวิจัย (Findings) ที่ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์การวิจัยและมีรายละเอียดในส่วนที่เป็นข้อค้นพบที่ส าคัญย่อหน้าที่ 4 สรุปข้อค้นพบจากการวิจัย และข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้[Conclusion and Recommendation (if any)]

เทคนิคการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ได้รับเงินสนับสนุน”

หาให้เจอ หาแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยมีทั้งงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัย และ งบประมาณแผ่นดิน ได้แก่ วช. สกอ. สกว. และหน่วยงานอื่น ๆ หรือการสืบค้น จากเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต ที่สะดวกคือ BIODATA เป็นฐานข้อมูลนักวิชาการ ประเทศไทย ซึ่งต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อนแต่จะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ทำให้รู้ แหล่งทุนทั้งในและภายนอกประเทศครบถ้วน จะได้รู้ช่วงเวลาการขอทุนและ เงื่อนไขของแหล่งทุนนั้น ๆ จะได้มีเวลาเพียงพอในการเตรียมการต่อไป หาความสนใจและความถนัดในงานวิจัยด้านใด มีบุคคลหรือหน่วยงาน ที่สามารถสนับสนุนในการด าเนินการวิจัยเรื่องนั้นๆ ได้หรือไม่ ข้อสำคัญงานวิจัย นั้นต้องมีประโยชน์ต่อส่วนรวม พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ มีคุณค่าต่อการพัฒนาใน อนาคต เลือกให้โดน เลือกแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยให้เหมาะสมกับงานวิจัย เพราะบาง แหล่งทุนมีการกำหนดขอบเขตและรายละเอียดของภารกิจให้ผู้วิจัยอยู่ก่อนแล้ว หรือที่เรียกว่า TOR (Team of Reference) หรือเลือกหัวข้อวิจัยจากปัญหาจริง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนหรือท้องถิ่น ค้นให้เป็น ค้นคว้าและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย จะได้ตีโจทย์วิจัยให้ แตกว่าสำคัญเร่งด่วนคือเรื่องอะไร สามารถสืบค้นตัวอย่างงานวิจัยจากฐานข้อมูล ในประเทศอย่าง Thai Digital Collection (TDC) […]

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย

1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาเป็นหัวข้อแรกของบทนำ มีจุดประสงค์เพื่อบอกถึงปัญหาการวิจัยครั้งนี้ คือ อะไร1.1 รูปแบบการเขียน ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยเขียนให้ประกอบด้วย(ก)แนวคิดเชิงทฤษฎี(ข)สภาพปัจจุบัน(ค) ปัญหาที่เกิดขึ้นและ(ง)ความสำคัญของปัญหานั้นตัวอย่างเช่นภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ แต่ในปัจจุบันนักเรียนยังอ่านหนังสือไม่ออก ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาว่า นักเรียนมีความสามารถทางการอ่านในระดับใด เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไข การวิจัยครั้งนี้จะทำให้ทราบระดับความสามารถในการอ่านของนักเรียนและจะเป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียนในโรงเรียนต่อไปจากตัวอย่างข้างบน สามารถวิเคราะห์ตามรูปแบบได้ดังนี้ความเป็นมาและความสำคัญ ตัวอย่างหลักการหรือแนวคิด ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้สภาพปัจจุบัน ปัจจุบันนักเรียนยังอ่านหนังสือไม่ออกปัญหาที่เกิดขึ้น นักเรียนมีความสามารถทางการอ่านในระดับใดความสำคัญของปัญหา ทราบระดับความสามารถในการอ่านของนักเรียนเป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่าน (ก) เขียนจากแนวกว้างไปสู่แคบจนถึงปัญหาการวิจัย(ข) ระบุปัญหาการวิจัยในรูปคำถามหรือประโยคบอกเล่าก็ได้(ค) เขียนให้มีการอ้างอิงข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า(ง) เขียนให้เห็นความสำคัญเชิงประโยชน์หรือเชิงโทษที่จะได้รับ(จ) เขียนความยาวประมาณ 3-5 กระดาษ

ลักษณะของสมมติฐานวิจัยที่ดี

ลักษณะของสมมติฐานวิจัยที่ดีการเขียนสมมติฐานนั้น ผู้วิจัยต้องมีอุปกรณ์ของความคิดและข้อเท็จจริงต่างๆ มากพอเพื่อที่ให้ สมมติฐานแต่ละข้อมีอำนาจในการพยากรณ์สูง ฉะนั้น การเขียนสมมติฐานจะต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ จินตนาการ การอ่านอย่างกว้างขวาง ตลอดจนมีการทดลองวิจัย (Pilot Study) แล้วน าข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และใช้หลักตรรกศาสตร์สังเคราะห์ขึ้นเป็นสมมติฐาน สมมติฐานที่ดีจึงควรมีลักษณะดังนี้ สมมติฐานที่ดีต้องอธิบาย หรือตอบคำถามได้หมด และอยู่ในรูปแบบที่สามารถสรุปได้ว่าจะ สนับสนุนหรือคัดค้านได้ สมมติฐานที่ดีจะต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป ใช้เทคนิคที่สามารถวัดได้ และเป็นเทคนิคที่มีอยู่แพร่หลาย ใช้กันในวงกว้าง ภาษาที่ใช้ในการเขียนต้องเข้าใจง่าย ทั้งในแง่ภาษา เหตุผล และวิธีการที่จะตรวจสอบ สมมติฐานที่ดีต้องสามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูล หรือหลักฐาน สมมติฐานที่ดีต้องสมเหตุสมผลตามทฤษฎี และความรู้พื้นฐาน และจ ากัดขอบเขตของการ ตรวจสอบได้ สมมติฐานหนึ่งข้อ จึงควรใช้คำถามเพียงหนึ่งข้อเท่านั้น สมมติฐานที่ดีต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการวิจัย สมมติฐานที่ดีต้องมีอำนาจการพยากรณ์สูง นั่นคือ สมมติฐานนั้นควรน าไปใช้อธิบายสภาพการณ์ที่ คล้ายๆ กันได้ อ้างอิง รศ.พ.ต.อ.หญิง ดร.พัชรา สินลอยมา* • อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มา : ajarnpat.com/data/document_study02.doc

การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย

การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยแนวคิด หลักการหรือทฤษฎีการกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการวิจัย ถ้ากำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจนจะทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาที่จะศึกษา ในบางครั้งถ้าพิจารณาชื่อเรื่องอย่างเดียวไม่สามารถตอบข้อคำถามได้ครบตามต้องการจึงจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ทำการวิจัยสามารถบอกรายละเอียดได้ว่า จะต้องศึกษา อะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล และการเสนอผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน การกำหนดวัตถุประสงค์ ควรกำหนดเป็นข้อ ๆ เพื่อความสะดวกและมีความชัดเจนในการวิเคราะห์และตอบคำถามของแต่ละข้อ สำหรับการตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยส่วนใหญ่ ควรขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ” และตามด้วยข้อความที่จะแสดงการกระทำในการวิจัย ซึ่งมักจะเป็นคำต่อไปนี้ เช่น ศึกษา สำรวจ เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาผลกระทบ เป็นต้นการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย ต้องเป็นสิ่งที่ปฏิบัติจริง วัดได้ประเมินได้ ซึ่งก็คือผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัยนั่นเอง ซึ่งอาจจะเป็นผลที่ เป็น Output (งานวิจัยบางเรื่องก็อาจเป็นผลที่เป็น Process หรือ Outcome ได้ ถ้างานวิจัยเรื่องนั้นต้องการที่จะศึกษา) สามารถกำหนดรูปแบบการวิจัยได้ ตั้งสมมุติฐานได้5. ภาษาที่ใช้กระทัดรัด ชัดเจน นิยมเขียนเป็นข้อๆ (ถ้ามีหลายประเด็น) และใช้คำนามนำหน้าตัวอย่างหัวข้อวิจัย : การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6วัตถุประสงค์1. เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร ร […]

หลักการเขียนบทคัดย่อ (Abstract)

Abstract หมายถึง ข้อความที่สามารถบอก ส่วนประกอบพื้นฐานของงานได้อย่างถูกต้องและ รวดเร็ว ทำให้ผู้อ่านทราบความน่าสนใจของงานเพื่อ ตัดสินใจให้อ่านงานหลัก (Paper)การเตรียมตัวก่อนเขียนบทคัดย่อ ก่อนการเขียนบทคัดย่อควรศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจกับงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของ ตนเองเพื่อหาประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ และดึงดูดให้ ผู้อ่านทั่วไปอยากอ่านรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ หลักการเขียนบทคัดย่อที่ดี1.ควรคัดเฉพาะส่วนสำคัญ เป็นประเด็นที่ น่าสนใจ เน้นถ่ายทอดจุดเด่นของการศึกษา โดยงานวิจัยมีความชัดเจน สั้น กระทัดรัด จำนวนคำต้องอยู่ระหว่าง 200–250 คำ หรือประมาณ 1–1.5 หน้ากระดาษ A43 ไม่มีการตีความหรือวิพากษ์ วิจารณ์โดยใช้ ความคิดของตนเอง4 ไม่ควรเขียนประโยคที่เข้าใจยาก และไม่ใช้ คำศัพท์เฉพาะท้องถิ่น5 ไม่ใช้ตัวย่อหรือสัญลักษณ์โดยไม่จำเป็น เพราะอาจสร้างความไม่เข้าใจให้กับผู้อ่านได้6.ไม่มีการอ้างอิงตัวเลข แผนภาพ ตาราง โครงสร้าง สูตรสถิติ หรือสมการใน บทคัดย่อ นอกจากจำเป็นต้องแสดงผลการ วิเคราะห์7.ในการเขียนบทคัดย่ออาจมีหลายย่อหน้าได้ เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ผู้อ่านในแต่ละตอน หลีกเลี่ยงการอ้างอิงงานวิจัยงานของผู้อื่นใน บทคัดย่อ ทำตามขั้นตอนตามโครงสร้างการเขียน บทคัดย่อ โดยต้องระมัดระวังให้มาก รวมถึงลักษณะแบบตัวอักษร ขนาด ตัวอักษร การก […]

บทความวิจัย คือ การเขียนแบบวิชาการ (Academic Writing) มีลักษณะสำคัญ 13

ประการ คือ (Prasitratasin, 2009)1) เขียนโดยนักวิชาการ (Scholars) เพื่อนัก วิชาการอื่นๆ2) เรื่องที่เขียนเป็นเรื่องที่ชุมชนวิชาการ (Academic Community) สนใจ3) เนิ้อหาเพื่ออขอยื่นต้องเสนอในรปูของการให้เหตผุล ที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ (Informed Argument)4) ข้อเท็จจริง หรือหลักฐานได้มาจากการวิจัย ของผู้เขียนเอง5) เป็นการรายงานผลการวิจัย (ต้องทำวิจัยก่อน)6) เน้นสมมติฐานและวิธีดำเนินการวิจัย7) เน้นการทดสอบทฤษฎี8) เน้นการได้ทฤษฎีใหม่ (ได้คำอธิบายใหม่)9) เน้นการนำผลไปใช้เฉพาะเรื่อง10) บทความมาจากการนำประเด็นที่ค้นพบ มาเขียน11) มีลักษณะเล็กแต่ลึก12) มีจุดยืนหรือข้อสรุปของตนเอง13) การเขียนบทความวิจัยผู้เขียนต้องมีทักษะ 4 ประการคือ ต้องรู้จักสรุปความ (Summarize) ต้องรู้จักการประเมิน (Evaluate) ต้องรู้จักหารวิเคราะห์ (Analyze) และต้องรู้จักสังเคราะห์ (Synthesize)