รูปแบบการเขียนบทความ

รูปแบบการเขียนบทความ

  1. การพิจารณาบทความ
    วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา มีนโยบายรับพิจารณาบทความหรือข้อเขียนในสาขานิเทศศาสตร์ การประชาสัมพันธ์และการโฆษณา การตลาดและการตลาดเพื่อสังคม หรือในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จากนักวิชาการนิเทศศาสตร์ สังคมศาสตร์ และบุคคลทั่วไป โดยไม่คำนึงถึงสถานที่ทำงาน สถาบันการศึกษา หรือศาสนาของผู้เขียน นอกจากนี้ ผลงานดังกล่าวต้องได้มาตรฐานตามที่กองบรรณาธิการวารสารฯ ได้กำหนดไว้ โดยผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องและกองบรรณาธิการ ทั้งนี้ วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา จะไม่พิจารณาบทความหรือข้อเขียนที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วในที่อื่นๆ
    เพื่อความสะดวกในการอ่านและให้ความเห็นของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิขอให้ผู้เขียนบันทึกต้นฉบับเป็นไฟล์ Microsoft Word (เวอร์ชั่น 97 ขึ้นไป) และใช้รูปแบบการเขียนบทความตามที่วารสารกำหนด
    กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตกแต่งต้นฉบับในด้านภาษาและตัวสะกดการันต์ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย สำหรับบทความหรือข้อความที่ส่งมาให้พิจารณา กองบรรณาธิการจะไม่ส่งไฟล์ต้นฉบับคืนไปยังผู้เขียน จึงขอให้เจ้าของบทความหรือข้อเขียนโปรดเก็บต้นฉบับไว้อีกชุดหนึ่งด้วย
  2. รูปแบบการเขียนบทความ
    กองบรรณาธิการอาจขอให้ผู้เขียนปรับเปลี่ยนรูปแบบการเขียนและการอ้างอิงหากพบว่าต้นฉบับไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข และ/หรือไม่พิจารณาให้ลงตีพิมพ์ หากผู้เขียนไม่ปรับเปลี่ยนตามที่ได้เสนอแนะ เพื่อการรักษาความเป็นเอกภาพและคุณภาพของวารสารฯ
    ผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความมาเพื่อการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา กรุณาใช้รูปแบบการเขียนและอ้างอิง ดังต่อไปนี้
  3. รูปแบบการเขียนบทความ
    1.1 รูปแบบการพิมพ์ (Format)
    เพื่อความสะดวกในการจัดหน้าและเพื่อคงความสมบูรณ์ของเนื้อหาในต้นฉบับ ขอให้ผู้เขียนใช้รูปแบบการพิมพ์ดังต่อไปนี้
  • ต้นฉบับเป็นไฟล์ Microsoft Word (เวอร์ชั่น 97 ขึ้นไป) ความยาว 20-25 หน้ากระดาษขนาด A4
  • ใช้ตัวอักษรฟอนต์ Th SarabunPSK ขนาด 16 point ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า (single paragraph spacing) และจัดแนวข้อความให้ด้านหน้าและหลังเสมอกันแบบ Thai Distributed เพื่อความสะดวกในการจัดหน้า
  • มีเลขหน้ากำกับบทความ โดยวางตำแหน่งเลขหน้าที่กึ่งกลางด้านล่าง หรือมุมขวาด้านบน เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการต่อไป
  • การเว้นวรรคตอน
  • ใช้การเว้นวรรคตอนเล็ก คือ ช่องว่างมีขนาดเท่า 1 ตัวอักษร หรือ 1 เคาะ
  • สำหรับบทความภาษาไทย ไม่ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่างคำ แต่ใช้การเว้นวรรคตอนเล็กแทน
  • สำหรับบทความภาษาไทย จำเป็นจะต้องมีข้อมูล 1. ชื่อบทความ 2. ชื่อและสังกัดของผู้เขียนบทความ (ตามฟอร์มในข้อ 1.4) 3. บทคัดย่อ 4. คำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    1.2 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ
  • ผู้เขียนจะต้องตั้งชื่อบทความเป็นภาษาอังกฤษด้วยเพื่อความสะดวกในการค้นหาและอ้างอิง
  • ใช้ Title Case ตามรูปแบบการเขียนแบบ APA (American Psychological Association) คือ พยัญชนะตัวแรกของคำเท่านั้นที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ (uppercase) ส่วนพยัญชนะอื่นๆ ในคำเป็นตัวพิมพ์เล็ก (lowercase) ส่วนคำบุพบท เช่น of, in, on, at, to, about, toward คำนำหน้านาม เช่น a, an, the และคำสันธาน เช่น and, or, between ให้ใช้เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นกรณีที่คำเหล่านี้เป็นคำเริ่มต้นชื่อเรื่อง
    1.3 บทคัดย่อและคำสำคัญ
  • บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวอย่างละไม่เกิน 300 คำกรุณาตรวจสอบความถูกต้องของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ และความสอดคล้องระหว่างบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย
  • คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ควรเป็นคำที่บ่งชี้หัวข้อหรือประเด็นที่ศึกษา กลุ่มแนวคิดทฤษฎีที่เป็นกรอบการศึกษา หรือระเบียบวิธีวิจัย (หากเป็นองค์ประกอบสำคัญของงานวิจัย) อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านสืบค้นได้ง่าย
  • ผู้เขียนสามารถระบุคำสำคัญได้ไม่เกิน 5 คำ และให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นคำสำคัญแต่ละคำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    1.4 รูปแบบการเขียนข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน
  • ในต้นฉบับบทความที่ส่งมายังกองบรรณาธิการ ควรระบุชื่อผู้เขียนด้านล่างชื่อบทความ และใส่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนในเชิงอรรถท้ายหน้า
  • กรุณาเรียบเรียงข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งต่อไปนี้ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนที่ครบถ้วนจะเป็นประโยชน์ในการอ้างอิงและหากผู้อ่านต้องการติดต่อผู้เขียนเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน สามารถระบุเฉพาะอีเมลของผู้เขียนหลัก หรือผู้ที่ผู้อ่านสามารถติดต่อได้เพียงท่านเดียวก็ได้
  • ในกรณีเป็นบทความภาษาไทย ให้ใส่ข้อมูลผู้เขียนตามรูปแบบที่เลือก ทำเป็น 2 ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    สำหรับบทความและข้อเขียนทั่วไป
    ชื่อ-นามสกุลผู้เขียน (วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด, สถาบัน, ปีที่จบการศึกษา; อีเมล:xxxx) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง [ทางวิชาการ/อาชีพ เช่น อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ฯลฯ] ประจำ [หน่วยงานที่สังกัด]
    สำหรับบทความและข้อเขียนจากโครงการวิจัย
    ชื่อ-นามสกุลผู้เขียน (วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด, สถาบัน, ปีที่จบการศึกษา; อีเมล:xxxx) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง [ทางวิชาการ/อาชีพ เช่น อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ฯลฯ] ประจำ [หน่วยงานที่สังกัด]
    บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ/ปรับปรุงจากโครงการวิจัยเรื่อง [ชื่อโครงการวิจัย] ซึ่งได้รับงบประมาณ/ทุนสนับสนุนจาก [ชื่อหน่วยงานที่ได้รับทุนสนับสนุน]
    สำหรับบทความจากวิทยานิพนธ์
    ชื่อ-นามสกุลผู้เขียนหลัก (วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด, สถาบัน, ปีที่จบการศึกษา; อีเมล:xxxx) และ ชื่อ-นามสกุลผู้เขียนร่วม (วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด, สถาบัน, ปีที่จบการศึกษา) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง [ทางวิชาการ/อาชีพ เช่น อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ฯลฯ] ประจำ [หน่วยงานที่สังกัด]
    บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ/ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์เรื่อง [ชื่อวิทยานิพนธ์] ของ [ชื่อผู้เขียนหลัก] ซึ่ง [ชื่อผู้เขียนรอง] เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา [อาจใส่รายละเอียดอื่นๆ เช่น ผลการประเมินการสอบวิทยานิพนธ์ การได้รับทุนสนับสนุน หรือรางวัลอื่นๆ ตามสมควร]
    1.5 การเขียนหัวข้อ (Headings)
  • หัวข้อหลัก (Heading) กรุณาพิมพ์ด้วยอักษรตัวเข้ม (bold) และชิดแนวพิมพ์ด้านซ้าย
  • หัวข้อรอง (Sub-heading) ผู้เขียนสามารถเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งต่อไปนี้ เช่น การย่อหน้า ขีดเส้นใต้หัวข้อย่อย กำกับด้วยตัวเลขหรือตัวอักษรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสลับกันระหว่างตัวอักษรกับตัวเลขก็ได้ แต่ต้องใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งบทความ

1.6 การเขียนคำอธิบายภาพประกอบและตาราง (Captions)

  • ตาราง แผนภูมิ รูปภาพ แผนที่ กราฟ หรือการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพในรูปแบบอื่นๆ ต้องมีคำอธิบายประกอบ โดยระบุลำดับภาพเป็นตัวเลข ตามด้วยคำอธิบายที่พิมพ์ตัวหนา และวางคำอธิบาย (caption) ไว้เหนือภาพ ชิดแนวพิมพ์ด้านซ้าย
  • ระบุที่มาของข้อมูลด้านล่างภาพ โดยใช้ว่า ที่มา: (อ้างอิงแหล่งข้อมูลตามหลักการอ้างอิง)
  • ผู้เขียนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ตาราง แผนภูมิ กราฟ มีเนื้อหาครบถ้วนและถูกต้อง หากเป็นแผนภูมิที่ผู้เขียนสร้างขึ้นเอง ควรจัดกลุ่มรูปร่างหรือวัตถุ (group) หรือแปลงแผนภูมิเป็นไฟล์ภาพ (.jpeg หรือ .tif) เพื่อให้มีเนื้อหาสมบูรณ์ ไม่มีส่วนใดขาดหายหรือเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการบรรณาธิกรณ์ต้นฉบับหรือตีพิมพ์
  • ภาพต้องมีความละเอียดสูง (300 dpi ขึ้นไป) และควรเป็นไฟล์ .jpeg หรือ .tif เพื่อให้สามารถเห็นได้ชัดเจนเมื่อตีพิมพ์
  1. 2. รูปแบบการอ้างอิง
    วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณาใช้รูปแบบ APA ทั้งการอ้างอิงในเนื้อหาและการอ้างอิงท้ายบทความผู้เขียนสามารถศึกษารายละเอียดรูปแบบการอ้างอิงแบบ APA ได้ที่เว็บไซต์ www.apastyle.org

2.1 การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citations)

  • ใช้การอ้างอิงแบบนาม-ปี (author-date) ตามรูปแบบ APA
  • ชื่อหนังสือ วรรณกรรม ภาพยนตร์ โสตทัศน์วัสดุ (audio-visual materials) ให้พิมพ์ชื่อด้วยตัวเอน ตามด้วยวงเล็บปีพ.ศ.หรือค.ศ.ของผลงานดังกล่าวหากจำเป็น หากเป็นชื่อภาษาอังกฤษ ให้ใช้รูปแบบ Title Case
  • ชื่อบทความให้อยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ พร้อมทั้งใช้รูปแบบการอ้างอิงที่ถูกต้อง หากเป็นชื่อภาษาอังกฤษ ให้ใช้รูปแบบ Title Case
  • ชื่อผู้แต่งภาษาต่างประเทศให้เลือกแบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ และใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งบทความ
    ก.ระบุชื่อภาษาต่างประเทศในบทความ โดยจะใช้ทั้งชื่อและนามสกุล หรือเฉพาะนามสกุลก็ได้ ตามด้วยวงเล็บปีที่พิมพ์ และเลขหน้าหากจำเป็น เช่น Stuart Hall (1997: 23)
    ข. ระบุชื่อเป็นภาษาไทยในเนื้อความ ตามด้วยชื่อภาษาต่างประเทศและปีที่พิมพ์ในวงเล็บ แต่ผู้เขียนต้องตรวจสอบว่า เป็นการแปลชื่อภาษาไทยที่ถูกต้องและใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น สจ๊วต ฮอลล์ (Stuart Hall, 1997: 23)
    2.2 รายการอ้างอิงท้ายบทความ (Reference list)
    สำหรับบทความภาษาไทย ต้องมีรายการอ้างอิงแบบ 2 ภาษา เริ่มจากรายการอ้างอิงภาษาดั้งเดิม ได้แก่ ภาษาไทย ตามด้วยภาษาอังกฤษ และ/หรือภาษาต่างประเทศอื่น
  1. 3. การตรวจ แก้ไข และให้ความเห็นในไฟล์ต้นฉบับบทความ
    นอกจากผลการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ในบางกรณี ผู้เขียนอาจได้รับไฟล์ต้นฉบับที่มีการแก้ไขแนบกลับไปด้วย กองบรรณาธิการจะเรียบเรียงข้อความใหม่ พิสูจน์อักษร และนำความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิมาใส่กำกับในไฟล์ต้นฉบับบทความ โดยใช้ฟังก์ชั่น “การติดตามการเปลี่ยนแปลง” (Track Changes) ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานในโปรแกรม Microsoft Word จากนั้นจึงส่งต้นฉบับกลับไปให้ผู้เขียนพิจารณา และขอให้แก้ไขบนไฟล์ที่แก้ไขแล้วดังกล่าว
    ดังนั้น เมื่อได้รับไฟล์ต้นฉบับจากกองบรรณาธิการกลับไปพร้อมผลการประเมิน ผู้เขียนควรใช้ฟังก์ชั่น Track Changes เพื่อตรวจสอบว่ามีการแก้ไขต้นฉบับและให้ความเห็นเพิ่มเติมในจุดใดบ้าง เพื่อทำให้การปรับปรุงบทความเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครบถ้วน และรวดเร็วยิ่งขึ้น

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

จากการศึกษางานวิจัยเผยว่า คนที่ทำตัวแปลกๆหรือทำตัวประหลาดแตกต่างจากคนปกติ หรือคนที่มีคาแร็คเตอร์แปลกประหลาดแบบธรรมชาติของเขาเอง สามารถสร้างแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้าม และทำให้มีโอกาสหาแฟนหรือคนรู้ใจได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ใครที่โสดมานานแล้วอยากสละโสด คงจะได้ฤกษ์สละโสดเร็วๆนี้แล้ว . ซึ่งผลวิจัยดังกล่าวข้างต้น อ้างอิงจากวารสารว่าด้วยบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคม (Personality and Social Psychology Bulletin) ของสหรัฐอเมริกา เป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิง จากการเลือกเพศตรงข้ามที่สนใจผ่านเว็บไซต์หาคู่เดทออนไลน์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงต่างถูกใจในผู้ที่มีความแปลกกว่าคนทั่วไป ทั้งในเรื่องสไตล์เสื้อผ้า การแต่งตัว รสนิยม และทัศนคติ . บางท่านอาจสงสัยว่า

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

จากการศึกษาเรื่อง ทำไมฝนตกแล้วต้องเหงา หรือผลกระทบจากสภาพอากาศต่อสภาพจิตใจในเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยานั้นพบว่า ในช่วงที่ฝนตก สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลง และแสงสว่างที่ลดน้อยลง ซึ่งอธิบายให้เห็นภาพที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของแสงสว่างที่ลดน้อยลงในวันที่ฝนตก เพราะร่างกายของมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ที่คอยกำหนดการทำงานของสมองและร่างกายในแต่ละช่วงของวัน . ซึ่งแสงส่งผลได้อย่างชัดเจน สามารถนึกถึงอารมณ์เวลาที่ตื่นมาในวันที่มีแสงแดดแรง ท้องฟ้าสดใส และไม่ร้อนจนเกินไป กับวันที่ตื่นมาแล้วท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยเมฆครึ้ม อารมณ์ความรู้สึกในวันนั้นก็แตกต่างกันไม่น้อย ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล เพราะการได้รับแสงแดดที่ไม่เพียงพอหรือน้อยลงในตอนเช้าส่งผลต่อการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ ต่อเนื่องไปยังสมอง ทำให้สมองผลิตเซโรโทนิน

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

วัยรุ่นวัยใสที่ยังไม่มีแฟนหรือแทบจะไม่ได้ไปออกเดทกับใครเขา มักถูกมองว่าขาดเสน่ห์หรือเข้าสังคมได้ไม่ดีนัก แต่ในขณะที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมวัยรุ่นในสหรัฐฯ เชื่อกันมานานว่า วัยรุ่นที่มีคู่คบหาดูใจจะมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสังคมและวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้ดีกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน แต่แล้วความเชื่อนี้กำลังจะเปลี่ยนไป . เนื่องจากทีมนักวิจัยด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียของสหรัฐฯ ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร “สุขภาพในโรงเรียน” (Journal of School Health) โดยระบุว่า ผลการติดตามเก็บข้อมูลระยะยาวเป็นเวลา 7 ปีกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชี้ว่าวัยรุ่นที่ไม่ได้คบหาเป็นแฟนกับใครและไม่ค่อยได้ออกเดทนั้น ไม่ได้มีพัฒนาการทางจิตวิทยาตามวัยด้อยไปกว่าเพื่อนที่มีแฟน หนำซ้ำยังมีทักษะทางสังคมที่ดีกว่า และมีภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าด้วย

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง