การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้จริง

เมื่อกล่าวถึงคำว่า “งานวิจัย” หลายคนคงนึกถึงนักวิชาการครูบาอาจารย์ นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่ต้องมีบทบาทในการศึกษาวิจัยในประเด็นต่างๆ หากพูดถึงชาวบ้านโดยทั่วไป ซึ่งเป็นคนเล็กคนน้อยในสังคม คงยากที่จะทำวิจัยได้ หากแต่มีงานวิจัยอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่างานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community Based Research : CBR) ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้ “คน” ในชุมชนท้องถิ่นเกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้จริง ด้วยการเข้าร่วมกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ชุมชนเพื่อกำหนดโจทย์/คำถามวิจัย การทบทวนทุนเดิมในพื้นที่ สถานการณ์ปัญหาผลกระทบที่มีต่อชุมชนในทุกมิติ จนสามารถสรุปได้ว่าอะไรที่เป็นโจทย์ร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง และเป็นทุกข์ร่วมของชุมชน (ทุกข์หน้าหมู่) และนำไปสู่การออกแบบการวิจัย และการวางแผนปฏิบัติการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การทดลองปฏิบัติจริง เพื่อสร้างรูปธรรมในการตอบโจทย์วิจัยหรือแก้ปัญหาในพื้นที่วิจัย ตลอดจนการประเมินผลและสรุปบทเรียน รวมถึงสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยชาวบ้าน คนในชุมชนท้องถิ่น นักวิชาการ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐนักพัฒนาและผู้ทรงคุณวุฒิที่จะได้เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างความรู้และกลไกการจัดการปัญหา เพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองของชุมชนในพื้นที่วิจัย

อำเภอบ่อเกลือ จะเป็นพื้นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกล โอบล้อมด้วยขุนเขาและสายน้ำและผืนป่าที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ มีเขตการปกครองอยู่ 4 ตำบล คือ ตำบลบ่อเกลือเหนือ ตำบลบ่อเกลือใต้ ตำบลภูฟ้าและตำบลดงพญา 39 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 14,907 คน ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ คนเมืองและม้ง ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บนที่สูง ประกอบอาชีพการปลูกไร่ข้าวหมุนเวียนเป็นหลัก แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นร่วมของคนในพื้นที่ คือ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งปัญหาดังกล่าวจึงถูกพัฒนามาเป็นโจทย์วิจัย ภายใต้โครงการ กลไกการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชัน โดยชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษา พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยมีพื้นที่วิจัยจำนวน 3 ตำบล คือ ตำบลภูฟ้า ตำบลบ่อเกลือใต้และตำบลดงพญา และมีนักวิจัยชาวบ้านจำนวน 100 คน เป็นทีมวิจัย โดยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) งาน SRI Unit ภายใต้แผนงานท้าทายไทย ชุดสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ซึ่งงานวิจัยดังกล่าว เป็นงานวิจัยที่ดำเนินการโดยนักวิจัยชาวบ้านในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ ที่เห็นความสำคัญของปัญหาและที่ต้องการให้คนในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นคนเล็กคนน้อยและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ได้ลุกขึ้นมาค้นหาปัญหาของตนเอง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนสังคมและมีเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในพื้นที่ โดยใช้กระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานวิจัย รวมทั้งให้ชาวบ้านในพื้นที่มีโอกาสกำหนดนิยามและปัญหาคอร์รัปชันด้วยตนเอง และสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความร่วมมือของชาวบ้านและหน่วยงานในพื้นที่ต่อการแก้ไขปัญหาและสร้างกลไกเฝ้าระวังด้านคอร์รัปชัน

ในปี 2562 ถือเป็นปีที่ 2 ของการดำเนินการวิจัย ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงของการดำเนินการศึกษาวิจัย โดยเน้นในส่วนของการสร้างกลไกในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชัน และเสริมสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในพื้นที่ สิ่งที่เป็นโจทย์สำคัญคือ การนำเอาข้อค้นพบจากผลการศึกษาวิจัย ระยะที่ 1 ทั้งข้อมูลความรู้ในด้านต่างๆ ซึ่งยังคงเป็นความรู้ระดับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่สิ่งที่จะต้องศึกษาในระยะที่ 2 คือ การสืบค้นข้อมูลให้ลงลึกในรายละเอียด ทั้งในระดับสถิติของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเด็น รวมถึงระดับโครงสร้าง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลความรู้ระดับพื้นที่ไปสู่ความรู้ในระดับจังหวัดและระดับประเทศต่อไป นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ผลกระทบ ผลเสีย สร้างความรู้ความเข้าใจ ทั้งในเรื่องค่านิยม การปลูกฝัง ทัศนคติของคนในชุมชน ในเรื่องหลักคุณธรรมความดี การรู้จักแยกแยะสิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนตน ประโยชน์ส่วนรวมและผลประโยชน์ของประเทศชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน หน่วยงาน สถานศึกษา องค์กรต่างๆ ในพื้นที่ รวมถึงในกลุ่มของเยาวชน นักเรียน นักศึกษาในพื้นที่ เสริมสร้างการเรียนรู้ในเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของความเป็นพลเมือง สิทธิขั้นพื้นฐาน และเรียนรู้ในเรื่องวิธีการดำเนินงาน งบประมาณโครงการและการจัดซื้อจัดจ้าง ให้กับคนในชุมชนท้องถิ่น และควรที่จะมีการบันทึกข้อมูลผู้รับเหมา – รับจ้าง ในพื้นที่ทั้งหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานราชการที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงควรมีการทดลองปฏิบัติการหรือมีภาคปฏิบัติเพื่อสร้างการเรียนรู้ของคนในชุมชน เพื่อตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การฝึกดูโครงการ รายละเอียดโครงการ ฝึกการตรวจสอบ การสอบถามการทำงานจัดซื้อจัดจ้าง หรือการดำเนินงานโครงการต่างๆ รวมถึงทดลองการแจ้งเบาะแสผ่านเครื่องมือที่สร้างโดยทีม SIAM LAB เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในชุมชนตลอดจนการก้าวข้ามความกลัวต่าง และเป็นการเรียนรู้จากของจริงในพื้นที่

ADVERTISEMENT

นอกจากนั้นการสร้างกลไกในการเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชัน จำเป็นต้องสร้างกลไกในหลายๆ ด้าน เช่น

1.กลไกการเฝ้าระวัง ทั้งในการไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในพื้นที่ ตั้งแต่เริ่มมีการดำเนินงานโครงการต่างๆ ที่จะต้องให้คนในชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลโครงการ ติดตามระหว่างดำเนินงานโครงการและสรุปประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ รวมถึงกลไกการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ที่เป็นชาวบ้านที่จะตกเป็นเครื่องมือของการทุจริตคอร์รัปชันในพื้นที่ เช่น การใช้ความไม่รู้ของชาวบ้านในการก่อทุจริตในโครงการ การเปิดบัญชีผี การลงลายชื่อเข้าร่วมเวทีหรือกิจกรรมที่จำเป็นต้องขอลายเซ็นจากชาวบ้านในการเบิกเงินโครงการ เป็นต้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวมักเกิดขึ้นเป็นประจำสำหรับชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ในด้านนี้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เป็นต้น

2.กลไกการให้กำลังใจ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากการที่ชุมชนจะลุกขึ้นมาทำงานด้านนี้ ถือเป็นเรื่องยากและอันตราย การก้าวข้ามความกลัว จึงเป็นปราการด่านแรกที่ชุมชนต้องผ่านให้ได้ เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีอันตราย ทั้งภัยจากอิทธิพลมืดหรือการบังคับข่มขู่ จำเป็นที่จะต้องมีการผนึกกำลังกันของกลุ่มคนในพื้นที่ เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน การให้กำลังใจซึ่งกันและกันตลอดจนการปกป้องดูแลรักษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

3.กลไกการสื่อสาร ถือเป็นกลไกหนึ่งที่มีความสำคัญ ที่ปัจจุบันอยู่ในยุคดิจิทัล ยุคข้อมูลข่าวสาร ซึ่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต้องมีความชัดเจน แม่นยำ ตลอดจนการสื่อสารในเรื่องการดำเนินโครงการต่างๆที่ส่อไปในทางทุจริต หรือแม้แต่การแจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชันในพื้นที่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ชาวบ้านในพื้นที่รับรู้ในเรื่องปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน แต่ไม่สามารถที่จะสื่อสารตรงๆ ได้ เนื่องจากการกลัวภัยที่จะมาถึงตัว ดังนั้น คำถามที่สำคัญคือจะมีวิธีการสื่อสาร/ช่องทางการสื่อสารแบบไหนวิธีใดที่จะช่วยป้องกันให้กับผู้แจ้งเบาะแสได้ นอกจากนั้นยังรวมถึงการสื่อสารความรู้การป้องกันเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชันให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น และจะมีแรงจูงใจอะไรที่จะช่วยให้ชาวบ้านได้แจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชันในพื้นที่

4.กลไกการหนุนเสริม ทั้งในด้านความรู้ทางวิชาการ และกระบวนการทางความคิด กระบวนการทำงานร่วมกัน รวมถึงการมีเพื่อนร่วมทางที่ดี ทั้งในระดับชุมชน ตำบล อำเภอ ป.ป.ช.สตง. และจังหวัด เพื่อสร้าง “ทีมที่มีคุณภาพ มีใจร่วมและพร้อมที่จะเรียนรู้ไปด้วยกัน”

ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายที่สำคัญ คือ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว การเรียนรู้ ตระหนักรู้ สร้างกลไกการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ผลกระทบ ผลเสีย ที่นำไปสู่การสืบค้นข้อมูล การจัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งในส่วนของสถานการณ์ปัญหา รูปแบบการคอร์รัปชัน ผลกระทบ การสรุปผลการเก็บข้อมูล และนำไปสู่การแลกเปลี่ยนพูดคุยในวงใหญ่ ทั้งในระดับชุมชนและระดับที่เหนือขึ้นไป เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยใช้เครื่องมือในการสร้างการมีส่วนร่วมในด้านการตรวจสอบที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เป็นเครื่องมือเชิงบวก เป็นสิ่งที่ชาวบ้านอยากทำ ท้องถิ่นอยากแก้ ไม่ปฏิเสธและทีมวิจัยทำได้ รวมถึงเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายสอดคล้องสภาพภูมิสังคมในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา และเกิดความร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐ เช่น ป.ป.ช.น่าน ป.ป.ท.น่าน สตง.น่าน ภาคเอกชน หน่วยงาน องค์กรภาคชุมชน ร่วมมือกันปรึกษาหารือกัน เพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและกลไกในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในพื้นที่ โดยเฉพาะธรรมาภิบาลด้านความโปร่งใสเปิดเผยข้อมูล การมีส่วนร่วมและนิติธรรม รวมถึงสร้างวัฒนธรรมต้านการทุจริตคอร์รัปชัน สร้างการตื่นตัวให้กับคนในชุมชนและการก้าวข้ามความกลัวของคนในชุมชน โดยใช้กระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โจทย์วิจัยเป็นของชุมชน และมีการทดลองปฏิบัติการร่วมกันของคนในชุน ทั้งนี้เพื่อให้คนเล็กคนน้อยในระดับพื้นที่ เกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติ และค้นหาและสร้างต้นแบบนวัตกรรมทางสังคมในระดับต่างๆ ทั้งระดับกลุ่ม องค์กรและพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีส่วนร่วมและสมัครใจ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงระบบกลไกบริหารงานของหน่วยเป้าหมาย เพื่อลดช่องทางคอร์รัปชัน โดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางสังคม เศรษฐศาสตร์ และกฎหมาย ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลของหน่วยงานกำกับดูแลและป้องกันปราบปรามคอร์รัปชัน รวมถึงสร้างพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันในการตระหนักรู้ด้วยข้อมูล และใช้ข้อมูล ข้อค้นพบจากกระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนทางนโยบายและสังคมอีกทางหนึ่งด้วย

ดังนั้น โจทย์ร่วมที่สำคัญของการขับเคลื่อนงานวิจัย กลไกการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและกลไกเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชัน
โดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่านคือการเสริมสร้างพลังของคนในชุมชน ให้ลุกขึ้นมาขับเคลื่อนกระบวนการทำงานร่วมกัน โดยมีหน่วยงานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาหนุนเสริมเติมเต็มศักยภาพของทีมวิจัยชาวบ้าน ถือเป็นการรวมพลังของดอกไม้หลากสีบนแจกันเดียวกัน ผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของคนในพื้นที่ และสามารถนำผลการศึกษาวิจัยไปแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในระดับพื้นที่ได้ และจะเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า “ชาวบ้านทำวิจัยได้” และ “ใครๆก็ทำวิจัยได้”

อภิสิทธิ์ ลัมยศ

ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จ.น่าน

(พอเพียง เคียงธรรม นำวิถีน่าน)

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

งานวิจัยเผย : คนที่ทำตัวแปลกๆ หาแฟนง่ายกว่าคนธรรมดา

จากการศึกษางานวิจัยเผยว่า คนที่ทำตัวแปลกๆหรือทำตัวประหลาดแตกต่างจากคนปกติ หรือคนที่มีคาแร็คเตอร์แปลกประหลาดแบบธรรมชาติของเขาเอง สามารถสร้างแรงดึงดูดต่อเพศตรงข้าม และทำให้มีโอกาสหาแฟนหรือคนรู้ใจได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ใครที่โสดมานานแล้วอยากสละโสด คงจะได้ฤกษ์สละโสดเร็วๆนี้แล้ว . ซึ่งผลวิจัยดังกล่าวข้างต้น อ้างอิงจากวารสารว่าด้วยบุคลิกภาพและจิตวิทยาสังคม (Personality and Social Psychology Bulletin) ของสหรัฐอเมริกา เป็นการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิง จากการเลือกเพศตรงข้ามที่สนใจผ่านเว็บไซต์หาคู่เดทออนไลน์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงต่างถูกใจในผู้ที่มีความแปลกกว่าคนทั่วไป ทั้งในเรื่องสไตล์เสื้อผ้า การแต่งตัว รสนิยม และทัศนคติ . บางท่านอาจสงสัยว่า

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

งานวิจัยเผย : ฝนตกทำให้คนเหงา เป็นเรื่องจริงไม่ได้มโนไปเอง

จากการศึกษาเรื่อง ทำไมฝนตกแล้วต้องเหงา หรือผลกระทบจากสภาพอากาศต่อสภาพจิตใจในเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยานั้นพบว่า ในช่วงที่ฝนตก สภาพอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลง และแสงสว่างที่ลดน้อยลง ซึ่งอธิบายให้เห็นภาพที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของแสงสว่างที่ลดน้อยลงในวันที่ฝนตก เพราะร่างกายของมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า นาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ที่คอยกำหนดการทำงานของสมองและร่างกายในแต่ละช่วงของวัน . ซึ่งแสงส่งผลได้อย่างชัดเจน สามารถนึกถึงอารมณ์เวลาที่ตื่นมาในวันที่มีแสงแดดแรง ท้องฟ้าสดใส และไม่ร้อนจนเกินไป กับวันที่ตื่นมาแล้วท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยเมฆครึ้ม อารมณ์ความรู้สึกในวันนั้นก็แตกต่างกันไม่น้อย ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล เพราะการได้รับแสงแดดที่ไม่เพียงพอหรือน้อยลงในตอนเช้าส่งผลต่อการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ ต่อเนื่องไปยังสมอง ทำให้สมองผลิตเซโรโทนิน

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

งานวิจัยเผย : วัยรุ่นที่มีแฟนเป็นซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นที่โสด

วัยรุ่นวัยใสที่ยังไม่มีแฟนหรือแทบจะไม่ได้ไปออกเดทกับใครเขา มักถูกมองว่าขาดเสน่ห์หรือเข้าสังคมได้ไม่ดีนัก แต่ในขณะที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมวัยรุ่นในสหรัฐฯ เชื่อกันมานานว่า วัยรุ่นที่มีคู่คบหาดูใจจะมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสังคมและวุฒิภาวะทางอารมณ์ได้ดีกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน แต่แล้วความเชื่อนี้กำลังจะเปลี่ยนไป . เนื่องจากทีมนักวิจัยด้านสาธารณสุขจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียของสหรัฐฯ ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสาร “สุขภาพในโรงเรียน” (Journal of School Health) โดยระบุว่า ผลการติดตามเก็บข้อมูลระยะยาวเป็นเวลา 7 ปีกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชี้ว่าวัยรุ่นที่ไม่ได้คบหาเป็นแฟนกับใครและไม่ค่อยได้ออกเดทนั้น ไม่ได้มีพัฒนาการทางจิตวิทยาตามวัยด้อยไปกว่าเพื่อนที่มีแฟน หนำซ้ำยังมีทักษะทางสังคมที่ดีกว่า และมีภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าด้วย

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง